ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 1559) ของ พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา

พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาฉบับแรกถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1554 โดยพระราชธิดาของพระเจ้าเฮนรีผู้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีโรมันคาทอลิกในพระนามพระราชินีนาถแมรีที่ 1[6] แต่ก็มาได้รับการรื้อฟื้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระขนิษฐาต่างพระมารดาของพระราชินีนาถแมรีผู้เป็นโปรเตสแตนต์ พระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงประกาศพระองค์เป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และทรงออกกฎคำสัตย์ปฏิญาณต่อประมุขสูงสุด (Oath of Supremacy) ที่มีผลต่อผู้ที่จะเข้ารับราชการหรือมีตำแหน่งหน้าที่ทางศาสนาที่จะต้องสาบานแสดงความสวามิภักดิ์ยอมรับว่าพระองค์เป็นประมุขของทั้งราชอาณาจักรและคริสต์ศาสนจักร ผู้ใดที่ไม่ยอมสาบานก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ[7] การใช้ตำแหน่ง “Supreme Governor” แทนที่จะใช้คำว่า “Supreme Head” เช่นพระราชบิดาเป็นการผ่อนปรนความรู้สึกต่อต้านจากโรมันคาทอลิก และฝ่ายโปรเตสแตนต์เองที่อาจจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการมีประมุขของคริสตจักรแห่งอังกฤษที่เป็นสตรี แต่พระราชินีนาถเอลิซาเบธผู้โดยทั่วไปแล้วไม่ทรงเป็นผู้ชอบใช้อำนาจอย่างรุนแรงก็มิได้ทรงไล่ลงโทษผู้ที่มีความคิดแตกต่างไปจากชนส่วนใหญ่ หรือผู้ที่มิได้ปฏิบัติตามกฎของคริสตจักรแห่งอังกฤษ นอกไปจากว่าการปฏิบัติเช่นที่ว่าขัดต่ออำนาจของพระมหากษัตริย์ที่รวมทั้งกรณี Vestments controversy

การรวมอำนาจทางศาสนาและทางรัฐภายใต้พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ทิวดอร์ของอังกฤษเป็นข้อที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างปรัชญาการแยกสถาบันรัฐและคริสตจักรจากกันต่อมาอีกหลายศตวรรษ ข้อขัดแย้งทางปรัชญานี้นำไปสู่การแยกอำนาจทางรัฐธรรมนูญระหว่างอำนาจทางการเมืองจากอำนาจทางศาสนาในหลายประเทศเช่นในสหรัฐอเมริกา แต่ในสหราชอาณาจักรพระมหากษัตริย์ผู้ทรงปกครองโดยรัฐสภายังคงทรงมีอำนาจและความสัมพันธ์ทางศาสนากับคริสตจักรแห่งอังกฤษอย่างใกล้ชิด

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์